พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับเครื่องหมายการค้า (Trademark)
  เครื่องหมายการค้า  หมายถึง  เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า
 เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้
เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
    เครื่องหมายการค้านี้อาจเป็นภาพถ่าย  ภาพวาดภาพประดิษฐ์  ตรา  ชื่อ  คำ  ข้อความ
 ตัวหนังสือ  ตัวเลขลายมือชื่อ  กลุ่มของสี  รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ  หรือสิ่งเหล่านี้
อย่างใดอย่างหนึ่ง  หรือหลายอย่างรวมกันและลักษณะสำคัญของเครื่องหมายการค้าคือ
การระบุเจาะจงและการจำแนกสินค้านั้นเอง
    การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า  ทำโดยการจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือ
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด  ซึ่งมีระยะเวลาคุ้มครองสิทธิ  ๑๐  ปี  นับแต่วันยื่นคำ
ขอจดทะเบียนและมีสิทธิต่ออายุการคุ้มครองได้คราวละ  ๑๐  ปี  ทั้งนี้  ให้ยื่นคำขอต่ออายุ
ภายใน  ๙๐  วันก่อนวันสิ้นอายุคุ้มครอง
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงได้รับสิทธิในเครื่องหมายการค้า  โดยพระราชทาน
ให้บริษัทสุวรรณชาด  จำกัด  และบริษัทมงคลชัยพัฒนาจำกัดจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
รวม  ๑๓  คำขอ  (http://larnbuddhism.com)  ได้แก่  เครื่องหมายการค้าสุวรรณชาด  ๑  คำขอ 
ทองแดง  ๒  คำขอ  โกลเด้นเพลส  ๔  คำขอ  ธรรมชาติ  ๕  คำขอ  และมุมสบาย ๆ  ๑  คำขอ    
   เครื่องหมายการค้าที่โดดเด่นรู้จักกันทั่วไป  คือเครื่องหมายสุวรรณชาด  (สมศักดิ์  ดำรง
สุนทรชัยม ๒๕๔๕ : ไม่ปรากฏเลขหน้า)  เกิดจากแนวพระราชประสงค์ที่จะสร้างตรา
สัญลักษณ์สินค้าที่เป็นของคนไทย  ผลิตโดยคนไทย  จึงพระราชทานตราสินค้า  “สุวรรณชาด”
 ขึ้นเป็นต้นแบบ  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของคนไทย
    เครื่องหมายสุวรรณชาดนี้มิได้จำกัดเฉพาะสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง  แต่จะพัฒนาให้มีสถานะ
เป็น  “ตราสินค้าแห่งชาติ”  อย่างจริงจังในอนาคต  และพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้หอการค้าไทยใช้ชื่อตราสินค้าสุวรรณชาดภายใต้โครงการภูมิใจในตราสินค้าไทยซึ่งมี 
“เสื้อทองแดง”  เป็นสินค้านำร่อง  โดยได้รับพระบรมราชานุญาตให้ผลิตและจำหน่ายในวาระ
แรกเพียง  ๓๐๐,๐๐๐  ตัว

 
 

 
           
   ความหมาย            ความเป็นมา         
 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับลิขสิทธิ์  (copyright)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับเครื่องหมายการค้า (Trademark)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสิทธิบัตร  (Patent)

 
 
     MAIN