พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับลิขสิทธิ์  (copyright)
   ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาในลักษณะวรรณกรรม  ศิลปกรรม
 ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว  โดยไม่ต้องจดทะเบียน  แต่อาจ
จดแจ้งสิทธิไว้เป็นหลักฐานได้  สิทธิในลิขสิทธิ์นี้กฎหมายให้ความ
คุ้มครองตลอดชีวิตของผู้สร้างสรรค์  และต่อเนื่องไปยังทายาทอีก  ๕๐  ปี
   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงได้รับลิขสิทธิ์จากผลงานพระราชนิพนธ์
เรื่องแรกคือ  “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์”
 (http://www.vcharkam.com /p3.)  ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือรายเดือนวงวรรณคดี 
ฉบับเดือนสิงหาคม  ๒๔๙๐  พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นบันทึกของพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในช่วงเวลาเสด็จพระราชดำเนินเพื่อกลับไปศึกษาต่อที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ครั้งที่สอง  เมื่อวันที่  ๑๙  สิงหาคม  ๒๔๘๙ 
โดยทรงบันทึกเรื่องราวการเดินทางที่แสดงความรู้สึกของพระองค์  ตลอดถึง
เหตุการณ์ที่ทรงไปประสบและรู้สึกประทับใจ  ได้แก่  เหตุการณ์รถพระที่นั่ง
แล่นผ่านถนนราชดำเนินกลางอย่างช้า ๆ  ถึงวัดเบญจมบพิตร  ทรงได้ยิน
ประชาชนคนหนึ่งร้องขึ้นมาดัง ๆ  ว่า  “อย่าละ  ‘ทิ้ง’  ประชาชน”  พระองค์
อยากจะบอกเขาไปว่า  “ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้วข้าพเจ้าจะ  ‘ละทิ้ง’ 
อย่างไรได้”  ซึ่งเป็นจุดเด่นของการบันทึกเรื่องราวในพระราชนิพนธ์นี้

        Next

 
           
   ความหมาย            ความเป็นมา         
 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับลิขสิทธิ์  (copyright)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับเครื่องหมายการค้า (Trademark)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสิทธิบัตร  (Patent)

 
 
     MAIN