พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสิทธิบัตร  (Patent)
    สิทธิบัตร   หมายถึง  หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด  ดังนั้น  สิทธิบัตรจึงมี  ๒  ประเภท  ได้แก่
สิทธิบัตรการประดิษฐ์  กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์  และมีอนุสิทธิบัตรอีกลักษณะ
หนึ่งที่ใช่กับการประดิษฐ์ที่มีเทคนิคไม่สูงมากนัก
    อายุการคุ้มครองสิทธิบัตร  กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา
 กระทรวงพาณิชย์  โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้รับความคุ้มครอง  ๒๐  ปี  สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้รับความคุ้มครอง  ๑๐  ปี  และอนุสิทธิบัตรได้รับความคุ้มครองระยะแรก  ๖  ปี 
และต่ออีก  ๒  ครั้ง  ครั้งละ  ๒  ปี  รวมทั้งหมด  ๑๐  ปี  นับแต่วันที่ยื่นขอจดทะเบียน   
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงได้รับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร  ได้แก่  สิทธิบัตร
เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวดน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย  (กังหันน้ำชัยพัฒนา)  เครื่องกลเติม
อากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ  การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื่อเพลิง
สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล  การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับ
เครื่องยนต์สองจังหวะ  การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน  (ฝนหลวง)  ภาชนะ
รองรับของเสียที่ขับออกจากร่างกาย  อุปกรณ์ควบคุมการผลักดันของเหลว  กระบวนการ
ปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวเพื่อให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก  (โครงการแกล้งดิน)
 ล่าสุด  พ.ศ.๒๕๕๓  ทรงได้รับสิทธิบัตรจากผลงานสิ่งประดิษฐ์ใหม่  ๓  ผลงาน  ได้แก่ 
ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยรางพืชร่วมกับเครื่องกลเติมอากาศ  เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
พลังงานจลน์  และโครงสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงาน

 
      
    Next      
   ความหมาย            ความเป็นมา 
 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับลิขสิทธิ์  (copyright)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับเครื่องหมายการค้า (Trademark)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสิทธิบัตร  (Patent)

 
 
     MAIN