สู่ขวัญข้าว
        สู่ขวัญชาวนา

“ แม่โพสี แม่โพสพ แม่นพดารา แม่จันเทวี แม่ศรีโสดา เชิญแม่มาสังเวยเครื่อง
กระยาบวช อยู่บ้านนา อยู่เขาคิชฌกูฏ ขอเชิญให้แม่มา แพ้ท้องแพ้ไส้ อยากกิน
เปรี้ยวกินหวาน กินมันกินเค็ม นานอกนาใน นาซ้ายนาขวา ขอเชิญแม่มาเสวย
เครื่องกระยาบวช ขอให้ข้าวงามดี ไม่มีภัยเบียดเบียน ขอให้ต้นเท่ากระบอง
ท้องเท่ากระบุง รวงเท่าดอกข่า ให้ดีทั่วไร่ทั่วนา “

 
 
 
ที่มา : พิธีทำขวัญข้าวhttps://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%  

   เสียงอัญเชิญแม่โพสพให้มารับเครื่องสังเวยในลักษณะนี้จะดังตามท้องนา ผืนนั้นผืนนี้
ในช่วงเย็นวันศุกร์ใดศุกร์หนึ่งหลังออกพรรษาไปแล้ว ด้วยเวลานั้นท้องทุ่งภาคกลางกำลัง
เจิ่งนองจากน้ำหลากเข้าทุ่ง เขียวขจีไปด้วยต้นข้าวที่กำลังออกรวงอ่อน ลำต้นป่องกลาง
แบบที่ชาวนาเรียกกันว่า ”ข้าวกลัดหางปลาทู”

 

ในอดีตเมื่อครั้งชาวนายังคงทำนาปีตามฤดูกาล  ยามนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ข้าวกำลัง
ตั้งท้องอ่อน  ประดุจแม่โพสพเทพธิดาแห่งต้นข้าว-กำลังทั้งท้อง  จึงอยากอาหารเหมือน
สตรีมีครรภ์  ที่ต้องเอาใจใส่หาเครื่องเซ่นสรวงอันมีรสเปรี้ยวหวานให้ท่านได้พอใจ 
ท่านจะได้ดูแลรักษาให้ต้นข้าวเจริญงอกงามสมบูรณ์  ซึ่งพิธีดังกล่าวชาวนาเรียกว่า 
ทำขวัญข้าว
หรือ  เรียกขวัญข้าว  หรือ  สู่ขวัญข้าว
   ผู้ทำพิธีมักเป็นหญิง  และต้องตระเตรียมไม้ไผ่สานเป็นเฉลวรูปห้าเหลี่ยม ชะลอมใบน้อย
ที่ใส่เครื่องสังเวยอันประกอบด้วยผลไม้  เช่น  กล้วย  ส้ม  อ้อย  หมากพลู มะขาม เกลือ ฯลฯ 
รวมถึงนำกระจก  หวี  แป้ง  น้ำอบ  สีผึ้ง  ผ่าซิ่น  สายสิญจน์  ธงกระดาษ  ติดตัวไป 
เมื่อพายเรือเข้าทุ่งและเลือกกอข้าวที่ดูหนาแน่นกว่าที่อื่นได้แล้ว  ก็จะนำเฉลวปักกับ
หลักไม้หรือกิ่งไม้  ประดับธงกระดาษ  เอาชะลอมสานและกระจกผูกกับหลัก  รวบต้นข้าว
สุ่มเข้าหากันโดยใช้สายสิญจน์ผูก  นำผ้าซิ่นวางพาด  แล้วใช้หวีหวีใบข้าวประแป้ง 
พรมน้ำอบ  ป้ายสีผึ้งให้ต้นข้าว  พร้อมกับร้องเรียกขวัญหรือพูดกับแม่โพสพด้วยถ้อยคำ
ไพเราะ  อ่อนน้อมต่อแม่โพสพ  ที่ทำเช่นนี้ก็ด้วยเชื่อว่า  แม่โพสพหรือแม่ข้าวนี้ขี้น้อยใจ 
ถ้าปฏิบัติไม่ดี  ไม่เคารพแม่  กระทำรุนแรงต่อแม่แล้ว  แม่จะหนีจากไป  อันจะส่งผลให้
เกิดความอดอยากดังปรากฏในตำราปลูกข้าวของไทยกล่าวไว้ว่า  “...อันแม่พระโพสพนี้
ขวัญอ่อนนัก  มักตกใจ  อย่าดูหมิ่น...”

Home

พิธีทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมการเกษตร    
Main ความเชื่อเรื่องการทำขวัญข้าว แม่โพสพ    
  ประเพณีทำขวัญข้าว เฉลว หรือ ตาเหลว