ประเพณีทำขวัญข้าว
ประเพณีทำขวัญข้าวเป็นพิธีสำคัญของชาวนา เป็นประเพณีพื้นบ้านที่แสดงให้เห็นถึง
วิถีชีวิตของคนไทย อันผูกพันกับสายน้ำมาเนิ่นนาน โดยในฤดูฝนเมื่อเสร็จ สิ้นการดำนา
นับจากเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป จนถึงราว เดือนพฤศจิกายน ที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ(ข้าว)
ตามความเชื่อว่าแม่โพสพมีพระคุณจึงต้องทำขวัญเป็นการกล่าวขอขมาต่อต้นข้าวทุกครั้ง
ที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับข้าว ทั้งการเกิดเองตามธรรมชาติ และจากการที่มนุษย์จะ
กระทำอะไรก็ตามกับต้นข้าว เช่น เกี่ยวข้าว อีกทั้งเพื่อเป็นการขอบคุณและเอาใจแม่
โพสพที่ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนนา และเพื่อขออภัยและเรียกขวัญแม่โพสพ เป็นสิริ
มงคลดลบันดาลให้มั่งมียิ่งขึ้น ปกติจะทำกันในวันศุกร์ซึ่งถือว่าเป็นวันขวัญข้าว
ประเพณีทำขวัญข้าวของบางจังหวัด อาจมีประเพณีทำขวัญข้าว อยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ข้าว
ตั้งท้อง และช่วงข้าวพร้อมเกี่ยว โดยในแต่ละช่วงจะมีเครื่องเซ่นไม่เหมือนกัน เครื่องเซ่น
ของการทำขวัญข้าวตอนตั้งท้อง ด้วยความเชื่อที่ว่า แม่โพสพเป็นมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิต
เช่นเดียวกัน พอข้าวตั้งท้อง จึงเชื่อว่าจะอยากทานอาหารเหมือนคนท้อง สิ่งที่ขาดไม่ได้ใน
เครื่องเซ่นช่วงดังกล่าวจึงเป็นของรสเปรี้ยว อ้อย น้ำมะพร้าว นอกเหนือจากหมาก พลู
ธงกระดาษสีต่างๆ ผ้าแดง ผ้าขาว ใส่ลงในชะลอมเล็ก ๆ มีเส้นด้ายสีแดงและสีขาวเพื่อ
ผูกเครื่องเซ่นเข้ากับต้นข้าว ดอกไม้ และด้วยความเชื่อว่าแม่โพสพเป็นผู้หญิง จึงต้องมี
น้ำอบ น้ำหอมด้วย โดยคนที่ทำพิธีมักจะเป็นผู้หญิงเจ้าของที่นา แต่พิธีนี้ให้โอกาสผู้ชาย
ทำได้แต่ไม่นิยม Next |
|