สู่ขวัญข้าว
        สู่ขวัญชาวนา

                                                 
                                                    ที่มา : https://www.google.co.th/search?q=เฉลว+ความเชื่อ&newwindow

 

เฉลว
เฉลว เป็นเครื่องจักสานที่นำตอกไม้ไผ่มาสานหัก พับ ขัดเป็นมุม ๆ จนเกิดเป็นตาเหมือนตาชะลอม มีหลาย
รูปแบบ ที่นิยมคือรูปดาว ซึ่งอาจมีดวงเดียวหรือหลายดวง บางลักษณะก็สานคล้ายเข่งปลาทู  
เฉลวมักทำขึ้นตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ ขณะหักตอกจึงลงคาถาไปด้วย เมื่อหักตอกครั้งแรกพูดว่า นะ 
ครั้งที่สอง โม ครั้งที่สาม พุท  ครั้งที่สี่ ธา   ครั้งที่ห้า  ยะ  รวมเป็น นะโมพุทธายะ  หมายถึงพระเจ้าห้าพระองค์
 การทำเฉลวนั้นก็เพราะคนไทยเชื่อว่าเป็นเครื่องหวงห้าม เพื่อกันภูตผีและสิ่งชั่วร้าย เสนียดจัญไรต่าง ๆ
 ไม่ให้มา กล้ำกรายสร้างความเดือดร้อนเฉลว มักปักบนหม้อยา เพราะเชื่อว่าช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้ยา
เสื่อม หรือเพื่อป้องกันไม่ให้คนเปิดหม้อยา  เพราะเกรงว่าจะทำให้ยาเสื่อมคุณภาพใช้ไม่ได้ผล
และใช้ปักเมื่อทำขวัญข้าว เพื่อไม่ให้มีสิ่งร้ายใด ๆ มาทำอันตรายแม่โพสพ อันจะส่งผลต่อความสมบูรณ์
ของผลผลิต และยังเป็นเครื่องหมายไม่ให้คนหรือสัตว์ เข้ามาเหยียบย่ำข้าวที่กำลังตั้งท้อง หรือสมัยก่อน
ปักที่หัวสะพานหรือตลิ่ง เป็นเครื่องหมายแสดงว่าเป็นที่ตั้งด่านภาษี หรือเป็นที่ที่มีของขาย       
  
ที่มา : https://www.google.co.th/search?q=เฉลว+ความเชื่อ&newwindow  
Next

         
Home

พิธีทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมการเกษตร    
Main ความเชื่อเรื่องการทำขวัญข้าว แม่โพสพ    
  ประเพณีทำขวัญข้าว เฉลว หรือ ตาเหลว