การทำขวัญข้าว....กับการอนุรักษ์วัฒนธรรมเกษตร
สังคมไทยมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่าการย่างเข้าสู่พุทธศักราชใหม่ในทุกๆ ปี เปรียบเสมือนการเริ่มต้น
สิ่งใหม่ในชีวิต หากเทียบกับการเกษตรเมื่อย่างเข้าหน้าฝนคงคล้ายกับการเบิกโรงเริ่มสู่ฤดูกาลเพาะ
ปลูกใหม่ได้เช่นกัน ที่พูดเช่นนี้ก็เพราะจำได้ว่าเมื่อครั้งผู้เขียนยังเด็กตอนกลับไปเยี่ยมญาติที่ต่าง
จังหวัดในช่วงเดือนหก....รถยนต์แล่นผ่านท้องทุ่งนาสองข้างทางก็เหลือบไปเห็นกระทงรูปสี่เหลี่ยม
ขนาดใหญ่ทำจากกาบกล้วยภายในกระทงมีอาหารคาวหวานเรียงรายมีธูปปักอยู่ใกล้กับศาลเพียง
ตาเล็กๆ ริมคันนา ในใจก็อดไม่ได้ที่จะสงสัย....จึงถามแม่ที่นั่งรถมาด้วย คำตอบที่ได้นั้นสั้นกระชับ
ทราบเพียงว่าข้าวของที่เรียงรายอยู่นั้นเป็นเครื่องเซ่นบูชาแม่โพสพ หรือเรียกว่า
”การทำขวัญข้าว” นั้นเอง ด้วยความเป็นเด็กยัง....ฉงนกับคำตอบจึงเกิดคำถามต่ออีกว่า แม่โพสพ
คือใคร? แล้วทำไมต้องบูชา? การทำขวัญข้าวคืออะไร? เมื่อโตขึ้นมาหน่อยได้เรียนวิชาสังคมจึง
ทราบว่า แม่โพสพคือเทพีที่คอยดูแลรักษาพืชพันธุ์ ธัญญาหารต่างๆ ให้อุดมสมบูรณ์การทำขวัญข้าวสะท้อนให้เห็นว่าวิถีชีวิตของคนในสังคมชนบทให้ความสำคัญกับพิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง
กับการทำมาหากินเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกข้าว จุดมุ่งหมาย
และความสำคัญของพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำขวัญข้าวก็เพื่อความเป็นสิริมงคลในการเริ่มฤดูกาลเพาะ
ปลูกใหม่ และความเชื่อที่ว่าความอุดมสมบูรณ์จะเกิดแก่พืชพันธุ์ธัญญาหารที่เพาะปลูก แต่แท้จริง
แล้วความหมายโดยนัยของพิธีกรรมการทำขวัญข้าวนั้นเป็นพิธีที่ทำขึ้นตามฤดูกาลให้สัมพันธ์กับ
การเพาะปลูก หากได้ศึกษาโดยละเอียดพบว่าพิธีกรรมดังกล่าวผู้ที่ประกอบอาชีพทำนาจะจัดขึ้น
อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่งชาวไทยนิยมปฏิบัติกันทั่วทุกภาคของประเทศแต่ละพิธีจะเรียกต่างกัน
ไปตามแต่ท้องถิ่น โดยช่วงที่สำคัญที่สุดจะอยู่ระหว่างหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตและก่อนเริ่ม
ฤดูกาลใหม่
|
|