สู่ขวัญข้าว
        สู่ขวัญชาวนา

ต๋าแหลว หรือ ตาเหลว เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทำจากไม้ใผ่ จะทำจากตอกหนึ่งก้าน
ที่หักไปมาเป็นแฉก หรือจะทำจากตอกหลายก้านมาสานรวมกันเป็กแฉกก็ได้ สำหรับ
คำว่า ต๋าแหลว หรือ ตาเหลว เป็นภาษาเหนือ แต่ถ้าจะเรียกชื่อเป็นภาษากลาง ก็คือ
เฉลว ทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์เป็สัญลักษณ์บอกสถานที่ ในอดีตภาคกลางใช้เฉลว
เป็นเครื่องบอกด่านเก็บภาษีอากรทางน้ำ หรือที่เรียกว่าการเก็บจังกอบ ถ้าเห็นสัญลักษณ์
เฉลวอยู่ที่ท่า แสดงว่าท่านี้เป็นด่านจังกอบ
แต่ถ้าหากเป็นความเชื่อล่ะก็ เฉลว จะเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์บ่งบอกถึงเขตห่วงห้าม
เขตป้องกันสิ่งชั่วร้าย สิ่งไม่ดี ชาวบ้านจะนำเฉลวมาประกอบพิธีต่างๆเกี่ยวกับความเชื่อ
อาทิ การสู่ขวัญข้าว สืบชะตา ทำบุญบ้าน ทำบุญเมือง มัดติดหน้าบ้าน ปักบนหม้อยา
ปักไว้ในที่ไม่ใช้ผีผ่าน  และที่สำคัญในการประกอบการปลุกเสกที่เป็นพุทธคุณ หรือ
พุทธาภิเสก ก็จะมีเฉลวมัดติดกลับรั่ว ๔ ทิศ สำหรับให้พระสงฆ์เจริญมนต์พุทธาภิเษก
ที่เรียกว่า ราชวัตร
เฉลวถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่ง ที่เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งหวงห้ามอันมีเจ้าของ
อยู่แล้ว เป็นสัญลักษณ์ความพิเศษอีกด้วย โดยเฉพาะหม้อต้มยา หลังจากปิดหรือไม่ปิด
ด้วยใบตองอ่อนก็ดี จะมีการปักเฉลวเล็กไว้บนหม้อต้มยา มีนัยว่าเพื่อบอกว่าหม้อนี้
คือยาต้มนะไม่ใช้น้ำต้มหรือแกงต้ม แต่ทางความเชื่อแล้วหม้อยามีครูบาอาจารย์มี
สิ่งศักดิ์สิทธ์สถิตอยู่ เพื่อรักษาคุณยาที่ต้มทั้งปวง โบราณจารย์กล่าวว่าอย่าให้ผีข้าม
หม้อยา เพราะจะทำให้ยาต้มเสื่อมคุณประโยชน์ ดังนั้นเฉลวเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์
ป้องกันผีร้ายหรือสิ่งชั่วร้ายทำลายคุณของยา ในการสู่ขวัญข้าว เฉลวถูกนำมาใช้
เพื่อป้องกันมีให้ผีร้ายเข้ามาทำลายพระแม่โพสพ
ชนิดของเฉลว ถูกแบ่งออกตามจำนวนแฉก คือ
๑.เฉลวที่เป็นรูปสามเหลี่ยม หรือมีสามแฉก มีความหมายว่า มะ อะ อุ เฉลวชนิดเมื่อตั้งไว้
แล้วจะเหมือนกับว่ามีคนมานั่งสวดคำว่า มะ อะ อุ ตลอดเวลา ทำให้ผีไม่กล้าเข้าใกล้
๒.เฉลวที่เป็นรูปดาวห้าแฉก มีความหมายว่า นะ โม พุท ธา ยะ  เฉลวชนิดเมื่อตั้งไว้แล้ว
จะเหมือนกับว่ามีคนมานั่งสวดคำว่า นะ โม พุท ธา ยะ ตลอดเวลา ทำให้ผีไม่กล้าเข้าใกล้
๓.เฉลาที่เป็นรูปแปดแฉก มีความหมายว่า อิติปิโส ภควตา เฉลวชนิดเมื่อตั้งไว้แล้วจะ
เหมือนกับว่ามีคนมานั่งสวดคำว่า อิติปิโส ภควตา ตลอดเวลา ทำให้ผีไม่กล้าเข้าใกล้

ในชาวล้านนามีต๋าแหลวอีกประเภทหนึ่ง สานง่ายแต่สานเป็นยาก เพราะมั้นมีลักษณะพิเศษ
คือมีเจ็ดชั้น สานต่อกันโดยสานต่อไปเรื่อยๆ และสามมารถสามารถต่อชั้นขึ้นไปได้อีก และ
อย่าเข้าใจผิดว่าสานเจ็ดอันเอามามัดรวมกันล่ะคับ ความยากคือการต่อชั่นแต่ละชั้น ถ้าต่อผิด
ถึงจะดูเหมือนต๋าแหลวแต่นั่นไม่ใช่ต๋าแหลว เราชาวเหนือมีชื่อเรียกต๋าแหลวนี้หลายชื่อ
ต๋าแหลวเจ็ดจั้น ต๋าแหลวใบคา ต๋าแหลวคาเขียว ต๋าแหลวหญ้าคา เป็นต้น ก็คือต๋าแหลวนี้
มี ๗ ชั้น แล้วนำคามาสานพันธ์กันใช้ขึงติดกับตาแหลว ดังนั้นเข้าจึงเรียกว่า ต๋าแหลว
คาเขียว เพราะใบคาที่นำมาสานพันกันเป็นสีเขียว

เอกสารอ้างอิง   
แกะรอยแม่โพสพ            http://www.mcc.cmu.ac.th/graduate/Agro723/Reading_Materials/Rice_Culture.html       ( เข้าถึง 25 มิถุนายน 2558 )
การทำขวัญข้าว....กับการอนุรักษ์วัฒนธรรมเกษตร                 http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=lukyim-pantip&date=21-06-2006&group=2&gblog=2
( เข้าถึง 25 มิถุนายน 2558 )
ความเชื่อเรื่องการทำขวัญข้าว                    http://www.openbase.in.th/node/10362    ( เข้าถึง 27 มิถุนายน 2558 )
เฉลว                  http://travelchoicetv.ran4u.com/f_22957_45789_32942_%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%A7.htm      
 ( เข้าถึง 30 มิถุนายน 2558 )
ประเพณีทำขวัญข้าว    http://www.thaigoodview.com/node/46190       ( เข้าถึง 30 มิถุนายน 2558 )
สุดารา  สุจฉายา. 2555. สู่ขวัญข้าว สู่ขวัญชาวนา.วัฒนธรรม. 51 (2) : 53 - 59.
Home

พิธีทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมการเกษตร    
Main ความเชื่อเรื่องการทำขวัญข้าว แม่โพสพ    
  ประเพณีทำขวัญข้าว เฉลว หรือ ตาเหลว