สู่ขวัญข้าว
        สู่ขวัญชาวนา

    เสร็จสิ้นการนวดก็ถึงขั้นตอนนำข้าวขึ้นยุ้ง  โดยถือตามวันที่ชาวบ้านพูดกันว่า  “วันศุกร์เข้าลาน 
วันอังคารเข้ายุ้ง”  หลังขนข้าเข้ายุ้งแล้วจึงทำพิธี  โดยใช้เครื่องสังเวยแบบเดียวกัน  ผู้ทำพิธีโกยข้าว
ในลานมาหนึ่งกระบุงหรือใช้ทัพพีตักข้าวใส่ขัน  พร้อมกล่าวอัญเชิญแม่โพสพมารับเครื่องเซ่นว่า
 “ขอแม่โพสพจงดลบันดาลให้ข้าวมีมากมาย  ตักตวงเท่าไรไม่รู้จักหมด”  แล้วนำกระบุงหรือขันข้าว
 พร้อมหุ่นมาเก็บในยุ้ง  แล้วปิดประตูยุ้งฉาง  และเมื่อจะขายข้าว  ชาวนาต้องทำพิธีเปิดยุ้งหรือตักยุ้ง 
ซึ่งจะทำราวเดือน  ๗  เวลาตักจะใช้ทัพพีตักข้าวใส่ขัน  และกล่าวขออนุญาตขายข้าว  ขอให้ตวงได้
มาก ๆ  ว่า  “ตักอย่ารู้ยก  จกอย่ารู้พร่อง  ให้เต็มยุ้งเต็มฉาง”  นำขันข้าวไปวางที่แท่นบูชาพระ  แล้วก็
ถึงเวลาตักข้าวขายได้เลย

ที่มา : https://www.google.co.th/search?q=เฉลว+ความเชื่อ&newwindow

พิธีสู่ขวัญข้าวที่กล่าวมานี้  ปัจจุบันแทบจะเหลือให้เห็นน้อยเต็มที  เพราะการทำนาได้เปลี่ยนแปลงจากการพึ่งพาธรรมชาติ  อาศัยน้ำจากฟ้าในเดือน  ๖  ฝนก็ตกพรำ ๆ  พอเดือน  ๑๐  น้ำเหนือหลาก  ข้าวเริ่มตั้งท้อง  พอเดือนอ้ายเดือนยี่น้ำรี่ไหลลง  จึงเก็บเกี่ยว  เอาเข้าลานนวดข้าว  จนข้าวขึ้นยุ่งแล้วจึงเปิดขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อ  หากวันนี้ข้าวที่เคยผลิตปีละครั้งตามฤดูกาล  ก็สามารถทำนาปรัง  ผลิตได้ถึงสามสี่ครั้งในรอบปี  อาศัยชลประทานหลวงที่แจกจ่ายไปตามผืนนาต่าง ๆ  ทั้งการเกี่ยวข้าวก็หาใช่แรงคนลงแขกอีกต่อไปแต่ใช้รถเกี่ยว  ตากแห้งในท้องนา  สีด้วยรถสีข้าว  ณ  ตรงนั้นเอง  ไม่ต้องขนข้าวเข้าลานเข้ายุ้งให้เสียเวลาอีกต่อไป  พ่อค้าตีราคาซื้อขายกันในทุ่งนั้นเลย  ประเพณีพิธีกรรมอันเกี่ยวเนื่องจากการทำนาจึงแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือการเกษตรที่ทันสมัย  รวมถึงจิตวิญญาณที่เคยพึ่งพาอ่อนน้อมต่อธรรมชาติก็เบาบางจนสูญหายไปจากชาวนาไทยในบางถิ่นที่

 
ที่มา : การรับขวัญข้าว  http://wangind.blogspot.com/

วันนี้รูปแบบพิธีกรรมส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนให้ย่นย่อหรือรวบรัดมากขึ้น  และมักอยู่ในรูปแบบของการบนบานบอกกล่าวมากกว่าจะประกอบพิธีกรรม  ท้องถิ่นภาคกลางเรื่องขวัญลานขวัญยุ้งแทบไม่ได้ทำแล้ว  แต่ยังมีความเชื่อในแม่โพสพอยู่  จึงประกอบพิธีทำขวัญแม่โพสพร่วมกับผ้าป่าข้าวเปลือกแทน  บางชุมชนที่เคยเป็นแหล่งปลูกข้าวในอดีตก็จัดพิธีทำขวัญแม่โพสพร่วมกับงานประจำปีของวัด  เช่น  วัดศิริวัฒนาราม  แขวงบางพรม  ตลิ่งชัน  จัดพิธีขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคมทุกปี  และมีไม่น้อยที่จัดขึ้นเป็นงานแสดงหรือการสาธิต  เพื่อการอนุรักษ์และท่องเที่ยว  เช่นวันขึ้น  ๓  ค่ำ  เดือน  ๓  จังหวัดพิจิตร  จัดพิธีเรียกขวัญข้าวฟื้นฟูประเพณีบูชาแม่โพสพที่วัดวังกรด  ตำบลบางกรด  อำเภอบางมูลนาก  หมู่บ้านควายไทย  ตำบลวังน้ำซับ  อำเภอศรีประจันต์  จังหวัดสุพรรณบุรี  จัดสาธิตทำพิธีขวัญข้าวของภาคกลางเป็นประจำทุกวัน
                ภายใต้พิธีทำขวัญข้าวที่ชาวนาไทยทำขึ้น  ไม่เพียงเอาอกเอาใจแม่ข้าว  แต่ยังเป็นการปลอบประโลมใจผู้ปลูกให้มีความหวังว่าจะได้ผลผลิตสมบูรณ์ตามที่ต้องการ...สู่ขวัญข้าว  จึงสู่ขวัญชาวนาอีกด้วย

 
Home

พิธีทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมการเกษตร    
Main ความเชื่อเรื่องการทำขวัญข้าว แม่โพสพ    
  ประเพณีทำขวัญข้าว เฉลว หรือ ตาเหลว