ตามประเพณีโบราณ เมื่อเด็กมีอายุพอควร ก็ไว้ผมเกล้าจุกให้มีได้ตัด พอเด็กย่างเข้าขีดรู้เจริญวัย คือ เด็กชายอายุ
ย่างเข้า ๑๓ ปี อย่างมากไม่เกิน ๑๕ ปี เด็กหญิงอายุย่างเข้า ๙ ปีอย่างมากก็เพียง ๑๑ ปี บิดามารดาก็จะจัดการทำ
พิธีตัดจุกให้ ซึ่งเรียกว่า “พิธีมงคลโกนจุก”
หมายเหตุ การที่โกนจุกเด็กหญิงในช่วงอายุน้อยกว่าผู้ชายนั้น เป็นเพราะเกรงว่าจะถึงกำหนดมีประจำเดือน หากเกิด
มีขึ้นในขณะทำพิธีจะทำลายให้พิธีเสื่อมได้
พิธีนี้จะจัดเป็นงานน้อยหรือใหญ่นั้น แล้วแต่ฐานะของเจ้าภาพ แต่ถ้าประจวบกับงานพิธีอื่นๆเช่น ทำบุญวันเกิด หรือ
ขึ้นบ้านใหม่ จะจัดรวมกันเป็นงานเดียวกัน ก็จะเป็นการสะดวกและประหยัดรายจ่ายได้อีกด้วย มีกำหนดการดังต่อไปนี้
๑.จัดเตรียมการ นับว่าเป็นงานมงคลพิธีอันสำคัญของเด็กวาระหนึ่ง จึงจำต้องกำหนดวันทำการให้ตรงกับวันฤกษ์งาม
ยามดี ต้องให้โหรผูกดวงชาตาของเด็ก เพื่อสอบหาวันและเวลาฤกษ์สำหรับทำการ ให้สอดคล้องต้องกันกับชาตา
ชันษาเด็กด้วย พิธีนี้ควรทำงาน ๒ วัน คือ เริ่มพิธีและสวดมนต์ตอนเย็น รุ่งขึ้นพระสงฆ์ฉันอาหารบิณฑบาตเช้าและ
ตัดจุก การจัดเตรียมคือ:
ก.จัดการตกแต่งสถานที่ จัดทำโรงพิธีให้สวยงาม เช่นเพดานและเฟื่องห้อย มีผ้าหรือแพรเป็นระบาย ประดับทิวธง
ราชวัติฉัตรชัย(สามัญชนใช้ฉัตร ๓ ชั้น หรือจะไม่มีก็ได้) ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ตลอดจนพันผ้าสีสลับกันรอบเสา
โรงพิธี ตั้งเบญจาอันประดับหยวกและฟักทองสลัก พร้อมทั้งใบและดอกไม้ของหอม ร้อยกรองตกแต่งให้งดงดงาม
ทั้งนี้ต้องสุดแต่ความจำนงประกอบฐานะของเจ้างาน อันพึงจะทำได้ดีเพียงใดข.จัดอาสนะสำหรับพระสงฆ์เจริญ
พระพุทธมนต์ และตั้งโต๊ะหมู่มีพระพุทธรูปพร้อมด้วยเครื่องบูชาตลอดการวงด้ายสายสิญจน์
ค.จัดโต๊ะหรือม้าสำหรับวางเครื่องมงคลพิธี เช่น ถาดหรือพานใส่เครื่องกรรบิดกรรไกร ดังอธิบายมาแล้วในพิธีโกนผมไฟ
ฆ.เตรียมที่ใส่น้ำมนต์ และเครื่องจุณเจิม
ง.เชิญโหรหรือพราหมณ์มาทำพิธีทางไสยศาสตร์