ยาหอมถือว่าเป็นของสูงและของหายาก  มีราคาแพงนิยมใช้กันในหมู่เจ้านายที่มีทรัพย์
    และมีอำนาจวาสนาเพราะเครื่องยาหลายตัวต้องนำเข้าจากต่างประเทศ  ทั้งยังต้องใช้
    บริวารจำนวนมากมาบด  มาร่อน  มาปรุง  ให้ได้ยาหอมคุณภาพดี  จนราษฎรทั่วไป
    แทบไม่รู้จักและไม่มีโอกาสได้ใช้ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
    เจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรที่อยู่ห่างไกลได้เข้าถึงยาคุณภาพดี 
    จึงทรงกระจายยาไปตามหัวเมืองต่าง ๆ  ภายใต้ชื่อ  “ยาโอสถสภา”  (ภายหลังเรียก 
    ยาตำราหลวง)  เป็นยาสามัญประจำบ้าน  ซึ่งเป็นยาฝรั่งแผนปัจจุบันมีด้วยกัน ๘  ขนาน
    ได้แก่  ยาแก้ไข้  ยาถ่าย  ยาแก้ลงห้อง  ยาแก้โรคไส้เลื่อน  ยาแก้โรคบิด  ยาบำรุงโลหิต 
    ยาแก้คุดทะราดและเข้าข้อ  และยาแก้จุกเสียด  เนื่องจากยาโอสถสภาเป็นของใหม่ 
    ราษฎรไม่นิยมใช้กัน  ในเวลาต่อมากระทรวงมหาดไทยจึงจัดให้ประชุมแพทย์ไทย
    จัดหาตำรายาไทย  จึงได้ผลิตยาโอสถสภาแผนโบราณออกจำหน่ายด้วย  ยาแผนโบราณ
    ของโอสถศาลามีหลายขนานเช่น  ยาธาตุบรรจบ  ยาจันทรลีลา  ยาสุขไสยาสน์ 
    ยากำลังราชสีห์ ยาหอมอินทจักร์  เป็นต้น
   
   
   
   

ยาหอมไม่ใช่ยาที่รักษาโรคโดยตรง  แต่เป็นการปรับสมดุลธาตุในร่างกาย
อย่างค่อยเป็นค่อยไป  โดยเริ่มจากธาตุลม  เพื่อไปกระตุ้นการทำงานของน้ำและไฟ 
เกิดการไหลเวียนสะดวกและเผาผลาญตามปกติ  การเลือกใช้ยาหอมให้ได้ผล
ในการรักษาสูงสุด  ควรเลือกชนิดของยาหอมและน้ำกระสายยาให้ตรงกับอาการ 
เช่น  แก้ลมวิงเวียนใช้น้ำดอกไม้หรือน้ำสุก  แก้คลื่นเหียนอาเจียนผสมในน้ำลูกผักชี 
หรือแก้ลมจุกเสียดให้ใช้น้ำขิงต้ม  อีกทั้งต้องคำนึงถึงปริมาณที่ใช้กับ
น้ำหนักของผู้ป่วยด้วย

   
          
HOME         MAIN            ความเป็นม
    
องค์ประกอบ                  สรรพคุณ                     อ้างอิง