ยาหอมมีสรรพคุณรักษาโรคลม  และนั่นเองที่ทำให้อีกชื่อหนึ่งของยาหอมมักเรียก
    ติดปากว่า  “ยาลม”  อีกทั้งยาหอมก็ยังมีสรรพคุณเพื่อบำรุงหัวใจ  ซึ่งในการแพทย์
    แผนไทยนั้นไม่ได้หมายถึง  ยากระตุ้นการทำงานหรือการปรับเต้นของหัวใจ
    แต่เป็นยาที่ปรับการทำงานของลมที่เคลื่อนไหวทั่วร่างกายมนุษย์  ซึ่งมีผลถึง
    การหมุนเวียนของเลือดให้เป็นปกติ  โดยโรคลมก็จะมีอยู่กัน  ๒  ประเภทได้แก่
       ๑.  ลมกองละเอียด  คือ  ลมที่ก่อให้เกิดอาการหน้ามืด  ตาลาย  เวียนศีรษะ 
             คลื่นไส้  อ่อนเพลีย
       ๒.  ลมกองหยาบ  คือ  ลมที่อยู่ภายในทางเดินอาหาร  เกิดอาการจุกเสียด 
             แน่นท้อง  เรอ  และผายลมนั่นเอง
       ความเกี่ยวพันของลมทั้งสองประเภทที่หมุนเวียนกันอยู่ในร่างกายเรานั้นก็คือ 
    เริ่มด้วย  “ลมกองหยาบ”  ที่จะเกิดขึ้นในช่องท้อง  อันเนื่องมาจากระบบการ
    ย่อยอาหารที่ไม่ปกติ  จนทำให้เกิดอาการท้องอืด  ท้องเฟ้อ  จุก  เสียด  แน่น
    ท้องนั่นเอง  และเมื่อลมกรองหยาบดันขึ้นสู่ด้านบนก็จะกลายเป็น  “ลมกอง
    ละเอียด”  ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปมาตามส่วนต่าง ๆ  ของร่างกาย  จนทำให้เกิด
    อาการแน่นหน้าอก  ลมจุกคอ  หน้ามืด  ตาลาย  ไปจนถึงปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต่างๆ 
    และแน่นอนว่า  สิ่งที่จะเข้ามาช่วยบรรเทานั่นก็คือ  ยาหอมหรือยาลมนั่นเอง
   
   

  สำหรับวิธีการทานยาหอมแบบดั้งเดิม  คือ  ต้องนำมาละลายน้ำกระสายยา
หรือน้ำที่ต้มสมุนไพร  และดื่มขณะกำลังอุ่น  เพราะจะช่วยให้ยาออกฤทธิ์
ผ่านประสาทรับกลิ่น  และการดูดซึมผ่านกระเพาะอาหารเร็วขึ้น  หากแต่ใน
ปัจจุบันรูปแบบของยาหอมมีทั้งแบบเคี้ยว  แบบอม  และแบบทานทั้งเม็ด
และดื่มน้ำตาม  ซึ่งจะไปแตกตัวในกระเพาะอาหาร  อย่างไรก็ตาม  วิธีการทาน
ยาหอมแบบดั้งเดิมให้ประสิทธิผลดีที่สุด
 ยาหอมไม่ใช่ยาที่รักษาโรคโดยตรง  แต่เป็นการปรับสมดุลธาตุในร่างกาย
อย่างค่อยเป็นค่อยไป  โดยเริ่มจากธาตุลม  เพื่อไปกระตุ้นการทำงานของน้ำและไฟ
เกิดการไหลเวียนสะดวกและเผาผลาญตามปกติ  การเลือกใช้ยาหอมให้ได้ผล
ในการรักษาสูงสุด  ควรเลือกชนิดของยาหอมและน้ำกระสายยาให้ตรงกับอาการ 
เช่น  แก้ลมวิงเวียนใช้น้ำดอกไม้หรือน้ำสุก  แก้คลื่นเหียนอาเจียนผสมในน้ำลูกผักชี 
หรือแก้ลมจุกเสียดให้ใช้น้ำขิงต้ม  อีกทั้งต้องคำนึงถึงปริมาณที่ใช้กับน้ำหนัก
ของผู้ป่วยด้วย

   
                         Next      
          
HOME         MAIN            ความเป็นมา
    
องค์ประกอบ                  สรรพคุณ                     อ้างอิ