เมื่อได้ขึ้นชื่อว่า  “ยาหอม”  หากขาดสิ่งที่ทำให้เกิด  “ความหอม”  ก็คงจะเรียกว่า 
    เป็นยาหอมไม่ได้  ดังนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือ  องค์ประกอบ  ๓  สิ่งที่ทำให้เกิดความหอม
    คือ  ๑.  ไม้กฤษณา  โดยสรรพคุณก็จะมีกลิ่นหอม  บำรุงหัวใจแก้วิงเวียน  ๒.  เกสรดอกไม้ไทย ๆ 
    ที่มีกลิ่นหอม  เช่น  เกสรบัวหลวง  (บำรุงหัวใจ)  ดอกสารภี  (ชูกำลัง)  ดอกพิกุล  (บำรุงเลือด) 
    มะลิ  (ดับพิษร้อน)  และบุนนาค  (บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น)  ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเรียกว่า 
    “เกสรทั้ง  ๕  เรียกได้ว่า  ๕  ตัว  ๕  สรรพคุณกันเลยทีเดียว  และสุท้ายที่จะต้องมีสำหรับ
    ปรุงความหอม  นั่นก็คือ  ๓  มะมดเช็ด  ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ได้จากสัตว์ชนิดหนึ่ง 
    มีสรรพคุณในการบำรุงหัวใจ  และช่วยให้ยาออกฤทธิ์แรงขึ้นนั่นเอง
        จากสมุนไพรและตำรับต่าง ๆ  หลายสูตรหลายส่วนผสมนั้น  ทำให้เราเห็นถึงความ
    ลำบากยากเย็นในการทำยาหอมอย่างชัดเจน  โดยกระบวนการในการทำยาหอมนั้น
    ก็จะเริ่มตั้งแต่การหาส่วนประกอบที่จะใช้ในการปรุงยาให้ครบถ้วนตามตำรับตำรานั้นๆ 
    จากนั้นก็ล้างทำความสะอาดทำการตากและอบจนแห้ง  และบดละเอียด  เพื่อให้
    สมุนไพรต่าง ๆ  กลายเป็นผงสีน้ำตาล  เรียกว่า  “กระแจะดิบ”  ซึ่งจะกลายเป็นตัวยา
    ในการทำยาหอมนั่นเอง
   
   
   
   
   
     
    ที่มา : หทัยรัตน์ มาประณีต. 2556,60,61
   
           Next
HOME         MAIN            ความเป็นมา
    
องค์ประกอบ                  สรรพคุณ                     อ้างอิง