คนไทยสมัยโบราณมักเรียกหา  “ยาหอม”  หรือ  “ยาลม”  ทุกครั้งเมื่อมีอาการไม่สบาย
    วิงเวียน  จุกเสียด  คลื่นไส้  อาเจียน  เป็นต้น  นับเป็นยาครอบจักรวาลที่ต้องมีติดบ้าน
    เลยทีเลย  ยาหอมเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทยที่นำสมุนไพรหลากหลายชนิด
    มาผสมปรุงใช้เป็นยารักษาโรคลมเสียมากกว่า  เนื่องจากภูมิประเทศอยู่ในเขตร้อนชื้น
    ผู้ปรุงยาหอมจะต้องรู้สรรพคุณและวิธีการปรุงสมุนไพรต่างๆจึงออกมาเป็นยาหอมได้ 
    และที่เรียกว่ายาหอมเป็นเพราะส่วนประกอบของสมุนไพรที่นำมาใช้มาจากเกสร
    ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมหลายชนิด  อาทิเช่น  จำปา  กฤษณา  หญ้าฝรั่น  จันทน์แดง 
    รวมทั้งเทียน  เช่น  เทียนขาว  เทียนดำ  เทียนแดง  เทียนข้าวเปลือก  และเทียนตาตั๊กแตน
    นอกจากนี้ยังมีโกศทั้ง  ๕  อีก  เช่น  โกฐสอ  โกฐเขมา  โกฐเชียง  โกฐหัวบัว 
    โกฐจุฬาลัมพา  เป็นต้น
        “โกฐ”  (อ่านว่าโกด)  นั้นเป็นชื่อเครื่องยาสมุนไพรจำพวกหนึ่ง ซึ่งจะได้มาจาก
    ส่วนต่าง ๆ  ของพืช  และมีหลายชนิด  เช่นโกศทั้ง  ๕  อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
    ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการปรุงยาหอมแล้ว  ก็ยังมีโกศอื่น ๆ  ที่มีความสำคัญใน
    ตำรับยาไทยโบราณ  เช่น  โกศทั้ง  ๗  ก็จะเพิ่ม  โกฐกระดูก  โกฐก้านพร้าว 
    นอกจากนั้นก็จะมีโกฐทั้ง  ๙  ซึ่งก็จะเพิ่ม  โกฐพุงปลา  โกฐชฎามังสี  และ
    โกฐพิเศษอีก  ๓  ชนิด  คือโกฐกักกรา  โกฐกะกลิ้ง  และโกฐน้ำเต้า  ในตำรายา
    แผนโบราณอาจจะมีการเขียนคำว่า  “โกฐ”  เป็นโกฏ  โกฏ  โกฎฐ์  โกด 
    ปรือโกษฐ์  ก็ไม่ต้องสงสัยเพราะหมายถึงโกศเดียวกัน
   
   
   
   

    ยาหอมมีการพบบันทึกลายลักษณ์อักษรตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช  (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑)  ทรงโปรดฯ ให้หมอหลวงในราชสำนัก
รวบรวมตำรับยาสำคัญขึ้นเป็นตำรายาเรียกว่า  “ตำราพระโอสถสมเด็จพระนารายณ์” 
นับเป็นตำรายาเล่มแรก  กล่าวถึงยา  ๘๑  ตำรับ  แต่ไม่ได้เผยแพร่สู่ประชาชน 
ใช้เฉพาะในราชสำนักเท่านั้น

   
           Next
HOME         MAIN            ความเป็นม
    
องค์ประกอบ                  สรรพคุณ                  อ้างอิ