เมื่อได้กระแจะดิบแล้วก็จะนำไปปรุงกับ  “น้ำกระสายยา”  ซึ่งประกอบด้วยเกสรทั้ง ๕
 และลูกชัด  ขอนดอกแฝกหอม  จันทน์แดง  จันทน์เทศ  เป็นต้น  ซึ่งจะเป็น  “ตัวยารส
หอมเย็น”  โดยตัวยาชนิดนี้ก็จะมีสรรพคุณในการแก้ลมกองละเอียด  จากนั้นก็จะนำ
ตัวยาที่ได้ไปอบเป็นเวลานาน  (ประมาณสองเดือนหรือแล้วแต่ตำรับยา)  และท้ายสุด
ก็จะต้องนำมาผสมกับส่วนประกอบหลักอีกอย่างนั่นก็คือ  “ตัวยารสร้อน”
 ด้วยสรรพคุณในการแก้ลมกองหยาบ  จากการที่มีส่วนผสมซึ่งประกอบด้วยขิง 
พริกไทย  ดีปลี  และลิ้นทะเลนั่นเอง  จากนั้นก็จะปรุงด้วยเครื่องหอมชั้นสูง
ราคาแพงเพื่อช่วยให้กลิ่นยานั้นหอมแรงยิ่งขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นหญ้าฝรั่น  พิมเสน
ในปล้องไม้ไผ่  และที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือ  ชะมดเช็ดนั่นเอง  โดยกลิ่นของ
ชะมดเช็ดก็จะเป็นตัวช่วยให้กลิ่นหอมของยานั้นแรงขึ้น  และติดทนนาน 
อีกทั้งยังทำให้ตัวยาสามารถแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดียิ่งขึ้น

  
   
               
   
       ยาหอมเป็นผลผลิตทางภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ  จากการนำสมุนไพรหลากหลาย
    ชนิดมาผสมปรุงรวมกันเป็นยา  อาศัยองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร 
    เพราะสมุนไพรมีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์  ซึ่งยาหอมก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต
    ประจำวันของบรรพบุรุษ โดยมักจะพกยาหอมติดตัวไว้ในล่วมยาใช้รักษายามฉุกเฉิน 
    แล้วค่อยจ่ายยาต้มภายหลัง  หากแต่ความนิยมในการบริโภคยาหอมลดลง 
    อันเนื่องมาจากความเชื่อ  และทัศนคติต่อยาหอมที่กลับถูกมองว่าล้าสมัย 
    คร่ำครึ  เป็นยาของคนแก่  นอกจากนี้  วิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่จาก
    ประเทศตะวันตกก็ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการรักษาพยาบาลยาแผนปัจจุบันได้รับ
    การรับรองทางวิทยาศาสตร์  ระบุสรรพคุณชัดเจน  และหาซื้อได้ทั่วไป  อีกทั้ง
    คนที่ป่วยเป็นโรคง่าย ๆ  ที่รักษาตนเองได้  ก็เลือกใช้ยาแผนปัจจุบันมากกว่า
   
          
HOME         MAIN            ความเป็นม
    
องค์ประกอบ                  สรรพคุณ                     อ้างอิง