|
|
ความสำคัญของเพลงกล่อมเด็กไทยมุสลิมภาคใต้ |
|
มนุษย์ทุกชาติทุกภาษามีเนื้อเพลงกล่อออมเด็กไว้สำหรับร้องกล่อมลูก เพื่อให้ลูกรักนอนหลับไม่ร้องไห้กวนโยเย ชาติทางยุโรปมีชื่อเรียกเพลงกล่อมเด็กต่างๆกันเหมือนๆกับการเรียกชื่อเพลงกล่อมเด็กไทยในแต่ละภาค เช่น อังกฤษเรียกเพลงกล่อมเด็กว่า Mother Groosc อเมริกาเรียก Lullaby ฯลฯ ส่วนเพลงกล่อมเด็กไทยภาคเหนือเรียกว่า เพลงอื่อ หรือเพลงอื่อลูก ภาคอีสานกับภาคกลางเรียกเหมือนกันว่า เพลงกล่อมลูกหรือเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ไทยพุทธ เรียกว่าเพลงร้องเรือ เพลงชาน้อง เพลงนอน และเพลงเปล ส่วนภาคใต้ไทยมุสลิม เรียกเพลงกล่อมเด็กว่า อูเละตีโด คำว่า อูเละ หมายถึง การร้องกล่อม ส่วนคำว่า ตีโด หมายถึง นอนหลับรวมความแล้วหมายถึงการร้องขับกล่อมให้นอนหลับ |
ฉันทลักษณ์ของเพลงกล่อมเด็กแต่ละชาติแต่ละภาษาแตกต่างกัน แม้แต่เพลงกล่อมเด็กของไทยในแต่ละภาคก็มีฉันทลักษณ์ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เพราะเพลงกล่อมเด็กเป็นวรรณคดีประเภทมุขปาฐะ(Oral Library) และเพลงกล่อมเด็กไม่ว่าชาติใด ภาษาใด น่าจะมีวิวัฒนาการมาจากการเล่านิทาน หรือนิยายให้เด็กฟังในเวลานอน เพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน และรู้สึกอบอุ่นใจว่าขณะที่นอนหลับมิได้อยู่คนเดียว มีคนอยู่เป็นเพื่อนด้วย เด็กจะได้ไม่ว้าเหว่ เด็กก็จะนอนหลับอย่างสบาย แต่การหานิทาน หรือนิยายมาเล่าให้เด็กฟังนั้นเป็นเรื่องยุ่งยากกว่าเด็กจะนอนหลับ จึงได้คิดหาทำนองเพลงช้าๆ มาใส่ไว้ด้วย จนกลายเป็นเพลงกล่อมเด็ก
ชาวไทยมุสลิมก็มีเพลงกล่อมเด็กไว้สำหรับกล่อมลูกเหมือนชาวไทยในภาคอื่นๆ และมีสภาพเหมือนชาวไทยในภาคอื่นที่ไม่นิยมร้องเพลงกล่อมลูกแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าบทบาทของแม่ในปัจจุบันต่างกับบทบาทของแม่ในสมัยก่อน เพราะสังคมและเศรษฐกิจบังคับ แม่ในสมัยในปัจจุบันต้องไปทำงานนอกบ้านเหมือนผู้ชายเพื่อหารายได้มาช่วยจุนเจือครอบครัว จึงทำให้เพลงกล่อมเด็กเลื่อนหายไปเร็วขึ้นจนหาคนที่ร้องเพลงกล่อมเด็กได้น้อยลงทุกที (มัลลิกา คณานุรักษ์, 2524:1) |
|
ประโยชน์ของเพลงกล่อมเด็กไทยมุสลิมภาคใต้ |
1. เพลงกล่อมเด็กเป็นเหมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมในแง่ต่าง ๆ เช่น ความเชื่อ ความคิดเห็น ภูมิปัญญา ภูมิธรรม |
2. เพลงกล่อมเด็กสะท้อนให้เห็นประเพณีวัฒนธรรม อันเป็นเครื่องปรุงแต่งสังคม และเห็นสภาพความเจริญทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ ซึ่งมักแทรกปนอยู่ในถ้วยคำที่นำมาเปรียบเทียบ |
3. เพลงกล่อมเด็กให้ความรู้เรื่องศัพท์ภาษา ได้รู้ศัพท์ สำนวนตลอดจนวิธีแสดงความคิดออกมาอย่างมีศิลปะ เช่น การสร้างบรรยากาศ การใช้โวหารให้เห็นง่าย ให้ฟังได้รสทางภาษา |
4. ให้เกร็ดความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น เกร็ดความรู้ทางด้านวรรณคดี ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การปกครองและครอบครัว |
5. เพลงกล่อมเด็กเป็นเครื่องอบรมสั่งสอนไปในตัว เพราะมีคติธรรมคติโลกปนอยู่ทุกบท |
6. เพลงกล่อมเด็กทำให้เกิดความเพลิดเพลิน เป็นอาหารใจแก่ผู้ฟัง ผู้ชม และผู้สนใจ |
7. การศึกษาบทกล่อมเด็กในแง่ของวรรณศิลป์ ทำให้ซาบซึ้งได้ง่ายกว่า เพราะใช้คำง่ายการศึกษาเพลงกล่อมเด็กจึงเป็นการปูพื้นด้านวรรณคดีเพื่อเพื่อศึกษาในขั้นต่อไป |
(กองส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมแห่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2554) |
|
|