45
 
 

          เพลงชาน้อง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงร้องเรือ คำว่า “ช้า”  ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 ให้ความหมายว่า (ก.) ขับกล่อม และคำว่าร้องเรือมาจากลักษณะการใช้ผ้าผูกเป็นเปลให้เด็กนอน โดยเปลนั้นมีลักษณะคล้ายเรือนั่นเอง
         ส่วนเพลงกล่อมเด็กไทยมุสลิมภาคใต้ มีคำเรียกเป็นภาษมลายูว่า    “อูเละ ตีโด”  ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า “อูเละ” แปลว่า การร้องขับกล่อม ส่วนคำว่า “ตีโด” แปลว่า นอน รวมความแล้ว อูเละตีโด ก็แปลว่า การขับกล่อมให้นอนนั่นเอง
(มัลลิกา คณานุรักษ์,  2524:1)

4 ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบเนื้อหาของเพลงกล่อมเด็กไทยมุสลิมภาคใต้กับเพลงชาน้องในเรื่องต่อไปนี้
1. ฉันทลักษณ์ของเพลง
2. สิ่งที่นำมากล่าวในบทเพลง
3. คำสอน
4. การตัดพ้อต่อว่าที่เกิดจากความรัก
5. การเสียดสี กระแนะกระแหน
6. การด่ากระทบกระเทียบ
7. ค่านิยมเกี่ยวกับการทอผ้า
8. คำคม
 
4 ความสำคัญ

ทำให้เห็นความเหมือนหรือความแตกต่างในเนื้อหาของเพลงกล่อมเด็กไทยมุสลิมภาคใต้
กับเพลงชาน้อง
(มัลลิกา คณานุรักษ์,  2524:2)   


 
4

 

 
:: งานเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ::
 
45
s