ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้.2542, 3910.

 
           ความเป็นมา  
 

      โนราแขกเป็นการละเล่นพื้นเมืองภาคใต้ ลักษณะของโนราแขกเป็นการแสดง ซึ่งมีการขับบทร้อง
โต้ตอบระหว่างพ่อโนรากับนางโนรา  ลำดับการแสดงเริ่มจากดนตรีโหมโรง การว่าบทเทศครู การแต่ง
ตัวแล้วว่าบทร่ายแตระ การร้องโต้ตอบ หลังจากนั้นเป็นการแสดงเรื่องจากวรรณคดีไทยประเภทจักรๆ
วงศ์ๆ ปัจจุบันโนราแขกมักแสดงในงานแก้บนและงานไหว้ครูโนรา       
     สิ่งที่ปรากฎอยู่ในการแสดงโนราแขกของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาสนั้น จะมีเอกลักษณ์
และรูปแบบการแสดงเป็นของตนเองโดยเฉพาะ โนราแขกปรับเปลี่ยนการแสดงมาจากโนราของ
ชาวไทยพุทธ และการแสดงมะโย่งของชาวไทยมุสลิม ซึ่งมีการรำร้อง และแสดงเป็นเรื่อง แสดง
ประกอบพิธีกรรมและแสดงเพื่อความบันเทิง ผู้แสดงที่สำคัญ คือ พ่อโนรา นางรำ และพราน
จะนำเอกลักษณ์ของโนราและมะโย่งในเรื่องของการร่ายรำการแต่งกาย และการขับร้อง – ดนตรี
มาใช้แสดงร่วมกัน คือพ่อโนราแต่งกายแบบโนราขับร้องเจรจาเป็นภาษาไทยและภาษามลายูถิ่น
นางรำชาวไทยมุสลิมแต่งกายแบบพื้นเมือง ขับร้องเจรจาจะเป็นภาษามลายูถิ่น ร่ายรำแบบ
โนราและมะโย่ง พรานขับร้องเจรจาเป็นภาษาไทยและภาษามลายูถิ่น ผู้ชมชาวไทยพุทธและ
ชาวไทยมุสลิมจะดูโนราแขกร่วมกันด้วยความสนุกสนานและเข้าใจในศิลปะการแสดง

 
   
 
   
       
       
   

ที่มา :โนราแขกบาเจาะ การละเล่นพุทธ-มุสลิม  http://wbns.oas.psu.ac.th/shownews.

 
 
Home         Main
ความเป็นมา          องค์ประกอบของการแสดง        โอกาส/เวลาที่เล่น      บทบาทในสังคม         บทร้องทำบท(เพลง)