ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้.2542, 3909.

 
          องค์ประกอบของการแสดง  
 

๑. ดนตรี มีดังนี้คือ กลอง ๒ ใบ ทับ ๑ คู่ ทน (กลองแขก) ๒ ใบ ฆ้อง ๑ คู่ นอกจากนี้มีโหม่ง ปี่ชวา
 ซอ รือบะ แสะ (แตระ) และฉิ่ง
๒. เครื่องแต่งตัว คล้ายกับโนราทั่วไป แต่การนุ่งผ้าจะไว้หางหงส์ยาวกว่า เครื่องประดับร่างกาย
ประกอบด้วยลูกปัด ปิดไหล่ สายสังวาล ทับทรวง ปีกนก ปิเหน่ง (ปิ้นเหน่ง) ปีก (หางหงส์)
 ผ้าห้อย กำไลต้นแขน กำไลปลายแขน เล็บ ผ้าผูกคอ และเทริด (เทริดนิยมห้อยอุบะด้วย)
๓. ธรรมเนียมนิยมในการแสดง โนราแขกจะมีลักษณะประสมประสานระหว่างโนรากับมะโย่ง
ดนตรีที่ใช้ ใช้ดนตรีโนราและดนตรีมะโย่งผสมกัน การขับบทก็คล้ายกับการร้องของมะโย่ง
โดยเฉพาะบทขับต่าง ๆ ที่ขับโต้ตอบระหว่างพ่อโนรากับนางโนรานั้นเรียกว่าเพลง เช่น
เพลาร่ายแตระ เพลาเดิน เพลาฉันทับหรือเพลาทน เพลาฆ้อง เพลาฉิ่ง เป็นต้น แต่ก่อนที่จะ
ขับบทร้องแสดงเรื่องนั้น จะมีการว่าบทกาศครูเช่นเดียวกับโนราทั่วไป การแสดงเรื่อง
สมัยก่อนนิยมแสดงเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ เรื่องจากวรรณคดี ต่อมาแสดงอย่างละครสมัยใหม่
แต่ถ้าเล่น…..จะต้องเล่นร้องพระสุธนมโนราห์

 

 
     
   
         
         
   

    ที่มา :โนราแขกบาเจาะ การละเล่นพุทธ-มุสลิม  http://wbns.oas.psu.ac.th/shownews.

 
    Next  
 
Home         Main
ความเป็นมา          องค์ประกอบของการแสดง        โอกาส/เวลาที่เล่น      บทบาทในสังคม         บทร้องทำบท(เพลง)