อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นเพลงแสะฉิ่งฆ้อง  ซึ่งเป็นบทพ่อโนราและ
      นางโนราร้องโต้ตอบกันเป็นภาษาไทยล้วน

                พ่อโนราว่า
                  “น้องเอยผมห่อพี่จะขอฝากรัก       อย่าหวนหันหักอย่าให้รักของพี่แห้ง
                เจ้าอย่าหักรักพี่ชายปลูกกลางแจ้ง    พี่หาพันธุ์ยากแรงรักแห้งเสียของ
                น้องเอยรับรักเจ้ารับไว้ให้คล่อง        รับเอาเถิดน้องได้ประคองรับรัก”

                นางโนรารับว่า
                  “พูดเล่นเช่นชายน้องขายหน้านัก    ไม่สู้รับรักคนจักฉันทา
                หยุดก่อนชายเอยถ้าฟังเสียงฟ้า         กะด่วนไปไหนหนาฟังฟ้ามันลั่น”

                พ่อโนราขับต่อไปว่า
                   “ให้พี่ฟังเสียงฟ้าปะหยาล่าทุกวัน                ปีเดือนเลื่อนผันคืนวันค่อยสิ้น”

                นางโนรารับว่า
                    “เชื้อชาติชายพาลเอาน้ำตาลทาลิ้น             น้องไม่ถ้ากินหลงลิ้นลมกลอน”

                พ่อโนรา
                   “น้องนี้เจ้าแสแสนแง่แสนงอน”
                นางโนรา
                   “ชายนี้ปากบอนน้องน่าค้อนฟ้อนแรง”
                พ่อโนรา
                   “น้อยเอยตาต่ำเจ้าอย่าทำเสียงแข็ง  พี่รักหนักแรงอย่าแหลงเผินเผิน”

                นางโนรา
                   “ชายนี้หนักหนายิ่งว่ายิ่งเดิน”
                พ่อโนรา
                   “โอ้เจ้าคิ้วเหินพี่เดินจึงแลนาง
                ฉะติ้งทิ่งแกร็กพี่พบเด็กตามทาง
                พี่ยืนกั้นขวางมิวางให้เจ้าไป
                ฉะติ้งทิ่งกรับพี่ฉวยจับผ้าสไบ
                ฉะติงนิงนอยกลอยใจอย่าไปอยู่ก่อน”

 

  ที่มา :โนราแขกบาเจาะ การละเล่นพุทธ-มุสลิม  http://wbns.oas.psu.ac.th/shownews.

 
 

ขณะที่ร้องโต้ตอบกันนี้  พ่อโนราและนางโนราจะรำหยอกล้อกันตามบท
   โนราแขกแสดงได้ทุกงาน  ทั้งงานบุญงานกุศล  งานประชันและงานแก้บน  (แก้หฺมฺรย) 
ชาวใต้แถบ  ๓  จังหวัดชายแดนทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมนิยมรับโนราแขกแสดงในงาน
ต่าง ๆ  เช่น  งานแต่งงาน  งานบวชนาค  งานเข้าสุหนัต  เป็นต้น  ต่อมาเมื่อโนราแขกเสื่อม
ความนิยมลงเหลือแต่โนราเชย นกยูงทอง  ที่พัฒนาตัวเองจากเล่นแบบโบราณมาเล่นดนตรี
และแสดงเรื่องอย่างละครสมัยใหม่จึงสามารถแสดงต่อมา  แต่ธรรมเนียมการแสดงเปลี่ยน
ไปหมด  คือเริ่มด้วยการเล่นดนตรีแบบสากลร้องเพลงมลายูและเพลงอินเดีย  ต่อด้วย
การแสดงเรื่องแบบละครสมัยใหม่  ปัจจุบันถ้าจะดูโนราแขกจริง ๆ  ก็จะดูได้ในโอกาส
งานแก้บนและงานไหว้ครูโนราเท่านั้น  (ครื่น  มณีโชติ)

 

เอกสารอ้างอิง
ธนาคารไทยพาณิชย์ มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. 2542. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย
 ภาคใต้.
กรุงเทพฯ : สยามเพรส แมเนจเม้นท์.
โนราแขก   http://noerokagpnu.blogspot.com/2012/09/blog-post.html#more 
โนราแขกบาเจาะ การละเล่นพุทธ-มุสลิม  http://wbns.oas.psu.ac.th/shownews.php?news_id=70889

    

Home         Main
ความเป็นมา          องค์ประกอบของการแสดง        โอกาส/เวลาที่เล่น      บทบาทในสังคม         บทร้องทำบท(เพลง)