ความหมาย    
               

ที่มา : นววรรณ  พันธุเมธา. 2551,26.

จุลกฐิน
 น. เรียกพิธีทอดกฐินที่ต้องทําตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว
 โดยปริยายหมายความว่า งานที่ต้องทําอย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
จุลกฐิน

(ศน.) น. กฐินด่วน, กฐินที่ทายกมีเวลาเตรียมตัวน้อย ช่วยกันปั่นด้าย ทอผ้า ย้อม เป็นจีวรให้เสร็จ
ในวันเดียวแล้วนำไปทอด มุ่งในทางแสดงความสามัคคี(จุลกฐิน     http://dictionary.sanook.com/search)
กฐิน, กฐิน-
[กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์
แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร;
คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน
 ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน
 ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ ก็หน้ากฐินมี
ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำ
ผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน
การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้
ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน
เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์
 เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน]
เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์
ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขา
ทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน]

ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการ
ทอดกฐินเรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กราน
กฐินแล้ว ก็เรียกว่าอานิสงส์กฐิน เช่นกัน.

                    Next

     Home      Main           ความหมาย              ความเป็นมา              ประเภท               วิธีการทอดจุลกฐิน                     อานิสงส์