อานิสงส์    
    

ที่มา : นววรรณ  พันธุเมธา. 2551,26.

อานิสงส์ของการทอดจุลกฐินนั้นก็จะเกิดผลดีทั้งแก่ฝ่ายผู้ทอดและฝ่ายพระสงฆ์
ที่เป็นผู้รับ  คือ  ทางฝ่ายผู้ทอดและคณะนั้นจะได้ชื่อว่า
                ๑.  ถวายทานภายในกาลเวลาที่กำหนดหรือที่เรียกว่ากาลทาน  คือในปีหนึ่งถวาย
ได้เพียงในระยะเวลา  ๑  เดือนเท่านั้นในข้อถวายทานตามกาลนี้มีพระพุทธภาษิตว่า
ผู้ให้ทานตามกาลความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลของผู้นั้นย่อมสำเร็จได้
                ๒.  ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ผู้จำพรรษาให้ได้ผลัดเปลี่ยนผ้านุ่งห่มใหม่  แม้กฐินนั้น
จะตกแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ชื่อว่าถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม  มีพระพุทธภาษิตว่า
การให้ผ้าถือว่าให้ผิวพรรณ
                ๓.  ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  พร้อมทั้งส่งเสริมผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ
ให้เป็นหลัก  เป็นตัวอย่างแห่งคุณงามความดีของประชาชนสืบไป
                ๔.  ทำให้จิตใจของผู้ทอดกฐินทั้ง  ๓  กาล  คือ  ก่อนทอดกำลังทอด และทอด
แล้วที่เลื่อมใสศรัทธาและประรถนาดีนั้น
                ๕.  การทอดกฐิน  ยังทำให้เกิดความสมัคคีธรรม  คือการร่วมมือกันทำคุณงาม
ความดี  และถ้าการถวายกฐินนั้นมีส่วนได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดด้วยแล้ว  ก็จะเป็นการร่วม
สามัคคีเพื่อรักษาศาสนวัตถุ  ศาสนสถานให้ยั่งยืนต่อไป

                  Next  

     Home      Main           ความหมาย              ความเป็นมา              ประเภท               วิธีการทอดจุลกฐิน                  อานิสงส์