ที่มา : นววรรณ พันธุเมธา.2551,25

สำหรับอานิสงส์ที่เกิดแก่ฝ่ายผู้รับคือพระสงฆ์นั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า  พระภิกษุ
ผู้กรานกฐินแล้วย่อมได้รับประโยชน์  ๕  ประการด้วยกัน  คือ

  1. รับนิมนต์ฉันไว้แล้วไปไหนไม่ต้องบอกลา  ภิกษุในวัดตามความในสิกขา  บทท่ ๖

 แห่งอเจลกวรรค  ปาจิตตีย์
                ๒.  ไปไหนไม่ต้องนำไตรจีวรไปครบสำรับ
                ๓.  เก็บผ้าที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษไว้ได้ตามปรารถนา
                ๔.  จีวรอันเกิดในที่นั้นเป็นสิทธิของภิกษุเหล่านั้น
                ๕.  ขยายเขตแห่งการทำจีวรหรือเก็บจีวรไว้ได้จนถึงสิ้นฤดูหนาว  (คือจนถึงวันขึ้น 
๑๕  ค่ำ  เดือน  ๔  เป็นวันสุดท้าย)
                จุลกฐินนี้จะนิยมทอดกันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จากนั้นได้แพร่
หลายเข้ามาทางภาคกลาง  (จังหวัดสุโขทัย)  และทางกรุงเทพฯ  แต่เนื่องจากในปัจจุบันนี้วิถี
ชีวิตของคนไทยได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยทั้งสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ  ทำให้การจัด
ประเพณีจุลกฐินอาจจะลดขั้นตอนลงไปบ้าง  โดยเฉพาะขั้นตอนของการปลูกฝ้าย
อาจจะเริ่มตั้งแต่การปั่นฝ้ายเป็นเส้นใย  เป็นต้น  และในระหว่างการทอผ้า  อาจจะมีการ
นำวงดนตรีพื้นบ้านมาบรรเลงเพื่อสร้างความสนุกสนานในการเข้าร่วมทำบุญมหากุศลด้วย

เอกสารอ้างอิง
นววรรณ  พันธุเมธา. 2551. จุลกฐิน ตำนานการทอดกฐินที่ควรสืบสาน.วัฒนธรรมไทย.
47(12).23 – 26.

 

     Home      Main           ความหมาย              ความเป็นมา              ประเภท               วิธีการทอดจุลกฐิน                  อานิสงส์