|
|
|
|
|
|
|
|
วิธีการทอดจุลกฐิน |
|
|
|
ที่มา : นววรรณ พันธุเมธา. 2551,26. |
วิธีการทอดจุลกฐินในบางท้องถิ่น เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า
กฐินแล่น เป็นภาษาท้องถิ่น บางทีก็ออกเสียงเป็นล่น แปลว่า รีบด่วน เป็นกฐินที่ต้อง
เร่งรีบทำให้เสร็จในวันนั้น เจ้าภาพผู้ที่จะทอดกฐินเช่นนี้ได้ต้องมีคนและกำลังมาก
เพราะต้องเริ่มตั้งแต่การทำผ้าที่นำไปทอดตั้งแต่ต้น คือ เริ่มตั้งแต่นำฝ้ายที่แก่และใช้ได้
แล้วแต่ยังอยู่ในฝักมีปริมาณพอที่จะทำเป็นผ้าจีวรได้ แล้วทำพิธีสมมติว่าฝ้ายจำนวนนั้น
ได้มีการหว่าน แตกงอกออกต้น เติบโต ผลิดอก ออกฝักแก่ สุก แล้เก็บมาอิ้ว
(เพื่อให้เมล็ดฝ้ายหลุดออกมาจนเหลือเพียงปุยฝ้ายสีขาว) นำเมล็ดออกดีดเป็นผง
ทำเป็นเส้นด้าย เปียออกเป็นไจกรอออกเป็นเข็ด ล้าฆ่าด้วยน้ำข้าว ตากให้แห้ง
ใส่กงปั่นเป็นเส้นหลอดใส่กระสวยเครือแล้วทอเป็นแผ่นผ้าตามขนาดที่ต้องการ นำไป
ทอดเป็นผ้ากฐิน เมื่อพระสงฆ์รับผ้านั้นแล้ว มอบแก่ภิกษุผู้เป็นองค์ครองซึ่งพระองค์ครอง
จะจัดการต่อไปตามพระวินัย |
|
ที่มา : นววรรณ พันธุเมธา. 2551,24. |
หลังจากนั้น ผู้ทอดต้องช่วยกันทำต่อ คือ นำผ้านั้นมาขยำทุบ ซักแล้วเอาไป
ตากให้แห้ง แล้วนำมาตัดเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งแล้วเย็บ ย้อม ตากแห้ง พับ ทับรีด
เสร็จเรียบร้อยแล้วนำไปถวายองค์ครองอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ทำพินทุกัป (การทำผ้าให้เกิด
ตำหนิ ไม่ให้หลงติดในความสวยงาม) อธิษฐาน (การตั้งจิตอธิษฐานนำผ้ากฐินมาใช้
เป็นผ่าห่มทับซ้อน ผ้านุ่งหรือผ้าสบง) |
Next |
Home Main ความหมาย ความเป็นมา ประเภท วิธีการทอดจุลกฐิน อานิสงส์ |
|
|
|
|
|
|
|