ที่มา : นววรรณ  พันธุเมธา. 2551,26.

    จุลกฐิน  ก็ถือเป็นเพณีที่เก่าแก่ประเพณีหนึ่งในสังคมชาวพุทธที่พบในประเทศไทย
และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีความหมายว่า  เป็นกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบ
ด่วน  เป็นงานที่ต้องอาศัยความสามัคคีในกระบวนการผลิตผ้าที่สำเร็จได้ด้วยมือหลาย ๆ  มือ
เพราะต้องเร่งรีบทำให้เสร็จภายใน  ๑  วัน  จากคำบอกเล่าของชาวกรุงเก่าที่ได้รู้เห็น
และปฏิบัติในพิธีกรรมนี้ว่า  จุลกฐินเป็นประเพณีที่นิยมมาก  จนกลายเป็นประเพณี
ของราชสำนักและของสาธุชนทั่วไปเนื่องมาจากความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง 
จึงส่งผลให้ประชาชนมีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยศรัทธา  จึงได้จัดกิจกรรมบุญกฐินให้
พิเศษไปจากกฐินธรรมดา  เพราะการทอดกฐินชนิดนี้  จะได้อานิสงส์มากกว่า
การทอดกฐินธรรมดาหลายเท่า  เพราะเหตุว่าทำในช่วงเวลาที่จำกัดคือ  ตั้งแต่
พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่และต้องใช้กำลังคนทุนทรัพย์มาก 
เพราะถ้าทำไม่ทันจะเป็นอันเสียพิธี  ฉะนั้นเมื่อทำเสร็จทันเวลาจึงส่งผลต่อจิตใจ
ของผู้ทำบุญเป็นอย่างมาก

     Home      Main           ความหมาย              ความเป็นมา              ประเภท               วิธีการทอดจุลกฐิน                        อานิสงส์