สู่ขวัญข้าว
        สู่ขวัญชาวนา

    ประเพณีการทำขวัญข้าวเป็นประเพณีที่ชาวนาไทยทำทั่วทุกภาค  แต่มีวิธีการปฏิบัติแตกต่างกัน
ในแต่ละภาคชาวนาภาคกลางและภาคใต้ทำขวัญข้าวหลายครั้ง  ตั้งแต่เริ่มมีเมล็ดข้าวอยู่ในรวง 
ตอนเก็บเกี่ยวขนข้าวเข้าลาน  และตอนขนข้าวเข้ายุ้ง  ส่วนชาวนาภาคเหนือและภาคอีสานจะทำขวัญ
ข้าวในช่วงที่ได้ผลผลิตแล้ว  และเตรียมขนข้าวเข้ายุ้งเท่านั้น
    ดังนั้นขั้นตอนที่ชาวนาทั่วทุกภาคทำพิธีรับขวัญข้าวร่วมกันก็คือ  ตอนเก็บเกี่ยวข้าวแล้วและเตรียม
ขนขึ้นยุ้งโดยชาวนาภาคกลางหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว  เมื่อขนข้าวมาที่ลานนวดข้าว  จะมีพิธีเรียกขวัญ
แม่โพสพมาสู่ลาน  ซึ่งเจ้าของนาฝ่ายหญิงจะทำพิธีตอนเย็นวันศุกร์  มีเครื่องบัตรพลีประกอบพิธี 
ได้แก่  ขนมต้มแดง  ขนมต้มขาว  ขนมหูช้างใส่กระทงใบเล็ก ๆ  พร้อมไข่ต้มและข้าวปากหม้อหนึ่ง
ปั้น  กล้วยน้ำว้าหวีงามกับเครื่องนุ่งห่มใหม่หนึ่งชุด  ธงกระดาษสี  สร้อยแหวนเงินทอง  กระบอก
ใส่น้ำ  และน้ำมนต์ธรณีสาร                                                                                                                   

    

ที่มา : สุดารา สุจฉายา. 2555,56

ที่เคยเห็นในท้องถิ่นอยุธยานั้น  เมื่อเกี่ยวเสร็จและขนข้าวเข้าลานแล้ว  เจ้าของนาฝ่ายหญิงจะไป
รับขวัญแม่ข้าวกลับเรือนในวันศุกร์แต่เช้ามืด  เมื่อถึงทุ่งนาที่ตอนนี้เหลือแต่ซังสีน้ำตาล  เจ้าของนา
จะหารวงข้าวที่ค้างซังอยู่สักสามสี่รวงมาผูกรวบให้เป็นหุ่นแม่โพสพขนาดเล็ก ๆ  ที่ทางโคราชจะ
เรียกว่า  ตาปุ้ก  แต่ทางภาคกลางไม่มีชื่อเรียก  จากนั้นนำหุ่นและธงสารสีมัดเข้าด้วยกันด้วยด้ายสามสี
 แล้วปักธงลงกับดินให้หุ่นยืนได้  จากนั้นหยิบกระทงข้าวของเครื่องบัตรพลีมาล้อมหุ่นแม่โพสพ 
แล้วกล่าวอัญเชิญแม่โพสพให้กลับเรือน  ไปอยู่ร่มเย็นในลานข้าวดังนี้ “แม่ศรี  แม่โพสพแม่นพดารา 
แม่จันทรเทวี  แม่ศรีสุดา  เชิญมิ่งขวัญกลับมาไปเข้าเกียรติแก้วและลานทอง  แม่เข้ามาเถิด  หนีนก
หนีหนู  หนีปูหนีไฟ  อยู่ในรูปูระแหง  ให้ตะแคงเข้ามา  เข้าบ้านให้หมด  หนีเถิดแม่มา  อยู่กับลูก
กับเต้า  ไปเลี้ยงลูกหลานจนเฒ่าแก่”  แล้วกู่ฮิ้วสามลา  ถอนธง  นำหุ่นเก็บขึ้นใส่กระบุงพร้อม
กระบอกน้ำคอนกลับบ้าน  ทิ้งเครื่องเซ่นไว้ให้นกกากิน  พอถึงลานนวดข้าว  ก็นำหุ่นรวงข้าวและ
ธงสามสีมาปักลงบนพะข้าวหรือกองฟ่อนข้าวขนาดใหญ่ที่จะเตรียมนวด  เสียบกระบอกน้ำลง
ระหว่างฟ่อนข้าว  พร้อมยกมือไหว้อัญเชิญแม่ข้าวให้อยู่เย็นเป็นสุขเลี้ยงลูกหลานสืบไป  ก็เป็นอัน
เสร็จสิ้นพิธีไปเปลาะหนึ่ง  รอจนกระทั่งวันศุกร์ในสัปดาห์ถัดไป  ซึ่งพร้อมจะนวดข้าวแล้ว  ก่อน
นวดต้องทำขวัญลานเพื่อเป็นสิริมงคล  ซึ่งพิธีการคล้ายกับรับขวัญข้าวเข้าลาน  นำธงสามสีมาปัก
ตามพะข้าวทุกกอง  พร้อมหูผ้าที่ลานหน้าพะข้าว  วางเครื่องเซ่น  ผ้านุ่ง  สร้อยแหวน  แล้วกล่าวเชิญ
ให้แม่โพสพมารับเครื่องสังเวย  จากนั้นนำกระทงใส่เครื่องสังเวยอย่างละนิดละหน่อยไปวางตาม
พะข้าวทุกกอง  ประพรมน้ำมนต์ให้ทั่วรอจนธูปที่จุดดับ  จึงกล่าวลาแม่โพสพ  ขอเครื่องสังเวย
ให้ลูกหลานได้กินกัน  ก็สิ้นพิธีทำขวัญ  เริ่มลงเสาเกียด  นวดข้าวได้

Next
 
Home

พิธีทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมการเกษตร    
Main ความเชื่อเรื่องการทำขวัญข้าว แม่โพสพ    
  ประเพณีทำขวัญข้าว เฉลว หรือ ตาเหลว