สู่ขวัญข้าว
        สู่ขวัญชาวนา

      

 
ที่มา : แกะรอยแม่โพสพ http://www.mcc.cmu.ac.th/graduate/Agro723/Reading_Materials/Rice

       แม่โพสพในยันต์ภาพท่ 3และ 4.ยันต์แม่โพสพ ของ ผศ. เอี่ยม ทองดี เขียนบนกระดาษขนาดประมาณ A3        และพิมพ์ลงบนผ้าผืนเล็กขนาดครึ่ง  A4  สำหรับวางบนหิ้งหรือแขวนเสายุ้ง
      5.  และ 6.ภาพวาดพ่อโพสพ แม่โพสพ ในตำราพิธีเกี่ยวกับการทำนาเขียนลงสมุดข่อย ของ ผศ. เอี่ยม          ทองดี ต่างมีปลาเป็นพาหนะทรงตามท้องเรื่องฉบับที่มีปลาเป็นสื่อให้ติดตามพบตัวแม่โพสพ

 
ที่มา : แกะรอยแม่โพสพ http://www.mcc.cmu.ac.th/graduate/Agro723/Reading_Materials/Rice
 

10.และ 11. แม่โพสพ จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เป็นฝีมือ
ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ผู้เขียนพยายามค้นหาแต่ไม่พบคำบรรยายว่าจิตรกรมีแรงบันดาลใจอย่างไร
จึงวาดแม่โพสพลงในพื้นที่ส่วนนี้ ในขณะที่ส่วนอื่นๆ เป็นภาพวาดเทพเจ้าสายพราหมณ์ล้วนๆ
เช่น พระนารายณ์ปางต่างๆ เป็นต้น
        ภาพสำเนาจากหนังสือ พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์กับประชาชน หน้า 109
 ประกอบเรื่องพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ หัวข้อที่ 4 "บำรุงอาชีพ" ว่าด้วยการทำนุ
บำรุงการเกษตร มีคำบรรยายว่า
        ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านตะวันตก หลังพระที่นั่งภัทรบิฐ ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ
 เป็นภาพเจ้าแม่แห่งข้าวทรงพระนามว่า "เจ้าแม่โพสพ" 

ในคำบรรยายภาคภาษาอังกฤษ ดร. ดวงทิพย์ สุรินทราธิป ใช้คำอธิบายว่า แม่โพสพ เป็น
the Goddess Ceres of the Orient แม่โพสพในพระที่นั่งไพศาลทักษิณมีลักษณะ "เป็นเทวีนางฟ้า
และยืนเปลือยกายท่อนบน" สวมชฏาและสร้อยสังวาลย์เช่นเดียวกับเทวดาหรือนางกษัตริย์
ในจิตรกรรมไทยประเพณี  
       12.แม่โพสพฉบับใหม่เอี่ยม พิมพ์ลงกระดาษโปสเตอร์เนื้อค่อนข้างหนา ขนาดครึ่งหนึ่งของแผ่นปิดมาตรฐาน แสดงแนวคิดว่าเทวดา (หรือแม้แต่พระพุทธเจ้า) เป็นชาวอินเดีย ที่ออกจะแพร่หลาย มากในสมัยหลัง ผศ. เอี่ยม ทองดี ก็มีเก็บอยู่ 1 แผ่น ผู้เขียนเองได้รับจากเพื่อน คือ ผศ. ดร. เสาวณิต วิงวอน ซึ่งเล่าว่าซื้อจากร้านค้าที่ท่าพระจันทร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2544 นี้เอง

Next
Home

พิธีทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมการเกษตร  
Main ความเชื่อเรื่องการทำขวัญข้าว แม่โพสพ    
  ประเพณีทำขวัญข้าว เฉลว หรือ ตาเหลว