ความเป็นมา
 โนราโกลน เป็นชื่อการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ โดยเฉพาะในอำเภอควนขนุน
จังหวัดพัทลุง การละเล่นโนราโกลนคล้ายกับโนราจริง เป็นการล้อเลียนโนราจริงไปในตัว
การรำ การร้อง การแต่งกาย มีลักษณะหยาบๆ ไม่อ่อนหวาน นุ่มนวลเหมือนโนราจริง
หรือโนราแท้ เพียงแต่บอกให้รู้พอเห็นเค้าโนรา จึงเรียกว่าโนราโกลน
โนราโกลนเกิดขึ้นหลังโนราแท้ การรำ การร้อง การแต่งกายเลียนแบบโนราทุกอย่าง
 เครื่องแต่งกายประดิษฐ์จากวัสดุพื้นบ้าน เช่น เทริด ทำด้วยจง(จง เป็นเครื่องมือจับกุ้ง
 จับปลาใส่ ทำด้วยไม้ไผ่ ก้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทรงสูง ปากกว้างเป็นวงกลม
มีหลายขนาด เลือกสรวมหัวแทนเทริดได้ตามต้องการ) หางหงส์ทำด้วยกาบตาล
ลูกปัดทำด้วยเปลือกหอยชนิดต่างๆ สร้อยคอทำด้วยเปลือกหอยโข่ง ปั้นเหน่ง
 ทับทรวงทำด้วยกระดองเต่า ปากทาสีดำ หรือแต่งใบหน้าให้ดูขำขัน

ท่ารำ ทำได้เหมือนท่ารำโนราแท้ แต่เป็นท่ารำหยาบๆ เก้งก้าง พลิกแพลง
ให้เป็นท่ารำที่พิสดารออกไป บทร้อง มีการประกาศถึงครูเพลงหน้าแตระ
 (เป็นกรับคู่ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก) บทผันหน้า บทสีโต บทกำพรัด บทพราน
 (สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้.2542,3904)

 

     
                                        
                     การแสดงมโนราห์โกลนคณะ"สามสลึง ตำลึงทอง" บ้านลำพิกุล ต.นาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง      
                   
   
MAIN
ความเป็นมา
เครื่องดนตรี
 เครื่องแต่งกาย                         ลักษณะการแสดง บทร้อง             โนราโกลนท่าหิน      
   
HOME