ลักษณะการแสดง
การแสดงโนราโกลน ใช้ผู้ชายล้วนประมาณ ๓–๕ คน เริ่มด้วยหัวหน้าคณะทำพิธีเบิกโรง
 ก่อนแสดงเพื่อขอเจ้าที่ หรือขออนุญาตเจ้าที่ในการเบิกโรง โดยใช้วัสดุ
อุปกรณ์ คือ หมาก พลู ๓ คำ เทียน ๑ เล่มเงิน ๙ บาท พร้อมด้วยเครื่องแต่งกายจากนั้น
ก็เป็นบทกาศครู และแสดงตามเนื้อเรื่อง
โอกาสในการแสดง
การแสดงโนราโกลน ใช้แสดงแก้บนงานวัด งานฝังลูกนิมิต หรืองานอื่นๆ
 แล้วแต่ความต้องการของเจ้าภาพ แต่ส่วนใหญ่นิยมแสดงแก้บน
จารีต พิธีกรรม
พิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับการแสดงโนราโกลนนั้น มีพิธีกรรมไหว้ครู
ในเดือน ๙ ของทุกปี คณะโนราโกลนจะเป็นเจ้าพิธีเอง เวลาทำพิธีมีการเอ่ยถึงครู
 ส่วนของที่เตรียมไว้สำหรับพิธีไหว้ครู ประกอบด้วย ไก่เหล้าขาว ขนมแดง และขนมโค

     
                           
     

               ที่มา : โนราโกลน คณะ ไขนวน  ชวนสนุก - สำนักงาน วัฒนธรรม จังหวัด นครศรีธรรมราช

     
      สถานที่แสดง เวที ฉาก
สถานที่ในการแสดง ส่วนใหญ่ใช้ลานกว้างๆ ทำเวทียกพื้นสูง ประมาณ ๑ เมตรแสดงในที่โล่ง
ซึ่งผู้ชมสามารถร่วมสนุกสนานได้เต็มที่ ส่วนฉากในการแสดง ใช้ฉากผ้าม่านการวาด
อย่างสวยงาม มีการเขียนชื่อคณะไว้เพื่อประชาสัมพันธ์คณะ ฉากที่ใช้ไม่มีการเปลี่ยน
 ใช้เหมือนกันทุกงาน

     
                   
   
MAIN
ความเป็นมา
เครื่องดนตรี
   เครื่องแต่งกาย            ลักษณะการแสดง บทร้อง              โนราโกลนท่าหิน         
   
HOME