เครื่องแต่งกาย
เครื่องแต่งกายของโนราโกลน แต่งเหมือนโนราแต่ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นในการ |
|||||||||
ในปัจจุบันการแสดงโนราโกลนไม่สู้จะได้แสดงบ่อยครั้งนักการละเล่นโนราโกลน เกิดขึ้นหลังโนรา มีรูปแบบการแสดงคล้ายโนรา แต่เป็นการล้อเลียนโนรา การรำ การร้อง การแต่งกาย มีลักษณะหยาบๆ ไม่อ่อนหวาน นุ่มนวลเหมือนโนราเพียงแต่ บอกให้รู้พอเห็นต้นเค้าของโนรา จึงเรียกว่า โนราโกลน เครื่องแต่งกายประดิษฐ์จาก วัสดุพื้นบ้าน เช่น เทริดทำด้วยจง (ภาชนะชนิดหนึ่งสานด้วยไม่ไผ่หรือใบเตย) หางหงส์ทำด้วยกาบตาล ลูกปัดทำด้วยเปลือกหอยชนิดต่างๆ สร้อยคอทำด้วยเปลือกหอยโข่ง ปั้นเหน่ง ทับทรวงทำด้วยกระดองเต่า ปากทาสีดำ หรือแต่งใบหน้าให้ดูขำขัน ท่ารำ ทำได้ เหมือนท่ารำโนรา แต่เป็นท่ารำหยาบๆ เก้งก้าง พลิกแพลงท่ารำให้พิสดารออกไป บทร้อง มีการประกาศถึงครู เพลงหน้าแตระ บทผันหน้า บทสีโต บทกำพรัด |
|||||||||
ที่มา : โนราโกลน คณะ ไขนวน ชวนสนุก - สำนักงาน วัฒนธรรม จังหวัด นครศรีธรรมราช |
|||||||||
เครื่องแต่งกาย ลักษณะการแสดง | บทร้อง โนราโกลนท่าหิน | ||||||||